อุบัติเหตุด้านตกจากที่สูงส่วนใหญ่มีความรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิตซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันอันตราย ทั้งจากอุปกรณ์เครื่องมือ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการขาดความตระหนักรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมเกิดความเสี่ยงในการทำงานและอาจเกิดอุบัติเหตุได้

ทำงานให้ปลอดภัย ควรอบรมที่สูง ก่อนทำงานมีมาตรฐานของการทำงานบนพื้นที่ต่างระดับต่ำกว่า 2 เมตร อุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้บันไดทำงานเพียงลำพัง เมื่ออยู่ขั้นสูงสุดของบันได จะไม่มีความมั่นคงขณะทำงานและเสี่ยงต่อการพลัดตก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นควรเลือกใช้บันไดที่มีพื้นยืนพร้อมเราจับซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้บันไดพับแบบปกติ

การทำงานบนพื้นที่ต่างระดับตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไปสามารถแบ่งแยกได้หลายประเภท ได้แก่

  1. พิจารณาเนื้องานก่อนลงมือปฏิบัติเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการทำงานบนที่สูงโดยไม่จำเป็นเช่นการทาสีเพดานด้วยการใช้ลูกกลิ้งต่อความยาวด้ามจับแทนการทำบนนั่งร้านเป็นต้น
  2. เมื่อทำงานบนที่สูงผู้ปฏิบัติงานควรใส่สายช่วยชีวิตขณะปฏิบัติงานตลอดเวลาและติดตั้งราวกันตกเพื่อป้องกันการพลัดตกจากที่สูง 
  3. จัดทำทางขึ้นลงให้มีความปลอดภัยและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเช่นการทำระบบบันไดชั่วคราวแทนการปีนขึ้นเป็นต้น
  4. การใช้อุปกรณ์นั่งร้านทำงานบนที่สูงควรอบรมที่สูงเบื้องต้นให้กับพนักงาน ก่อนการทำงาน เพื่อให้มีความตระหนักถึงปลอดภัย และเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการทำงาน ซึ่งมีหลายประเภทดังนี้

-นั่งร้านที่รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 225 กิโลกรัม เหมาะสมสำหรับการฉาบปูนทาสีหรืองานด้านไฟฟ้าเป็นต้น

-นั่งร้านที่รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 450 กิโลกรัม เหมาะสำหรับการทำงานทั่วไป

-นั่งร้านที่รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 675 กิโลกรัม เหมาะสำหรับงานก่ออิฐคอนกรีตรื้อถอนและภารกิจที่ต้องรับน้ำหนักบรรทุกมากหรือแรงกระแทกจากซึ่งการสร้างดัดแปลงรื้อถอนอุปกรณ์นั่งร้านควรดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้และปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 

  1. รถกระเช้าควรใช้บนพื้นที่มีความมั่นคงแข็งแรงขนาดปฏิบัติงานต้องมีผู้ควบคุมที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองอยู่ด้วยและควรตรวจสอบทดลองการทำงานของรถกระเช้าอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อความปลอดภัย
  2. สร้างความปลอดภัยพื้นที่ที่มีความเสี่ยงตกจากที่สูงเช่นบริเวณขอบอาคารราคาทางลาดชันพื้นที่เป็นหลุมและจุดที่เสี่ยงต่อการพลัดตกโดยการติดตั้งราวกันตก 
  3. เลือกใช้บันไดที่ถูกต้องและเหมาะสมตามลักษณะงานติดตั้งบนพื้นที่แข็งแรงมั่นคงและป้องกันไม่ให้เกิดการลื่นไถล
  4. กำหนดจุดยึดเหนี่ยวและอุปกรณ์ช่วยยึดรั้งผู้ปฏิบัติงานให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องปลอดภัยซึ่งอย่างน้อยควรมีอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยกลุ่มยึดเหนี่ยวสายรัดตัวนิรภัยชนิดเต็มตัวเชือกนิรภัยหรือเชือกช่วยชีวิตทั้งนี้ควรมีการคำนวณระยะการตกของผู้ปฏิบัติงานในกรณีการใช้เชือกนิรภัยและอุปกรณ์ดูดซับแรงเพื่อค้นหาระยะปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดที่เกี่ยวกับ 8 หลักการ ทำงานให้ปลอดภัย ควรอบรมที่สูง ก่อนทำงานมีมาตรฐาน หากพนักงานได้รับการอบรมที่สูงก่อนทำงานทุกครั้ง สามารถช่วยให้พนักงานเกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง และสามารถลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี